This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

สารพันปัญหาคนอยู่คอนโด



สารพันปัญหาคนอยู่คอนโด 


แนะทางออกพึ่งมืออาชีพช่วยบริหารปัญหาที่เกิดขึ้นกับการอยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดในปัจจุบันมีจำนวนมาก โดยเฉพาะคอนโด ในระดับราคา 1-3 ล้านบาท ที่มีตั้งแต่โครงการขนาดเล็ก 70 ยูนิต จนถึงโครงการใหญ่ที่มีจำนวน 1,000 ยูนิต เมื่อมีการอยู่อาศัยรวมกันมักทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

"ธนนันทร์เอก หวานฉ่ำ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชบี อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด ระบุว่า ปัญหาที่เกิดกับอาคารชุดมีตั้งแต่เรื่องการจ่ายค่าส่วนกลางของยูนิตที่ยังไม่ได้โอน ซึ่งตามกฎหมายเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการที่จะต้องจ่ายหลังจากที่จดทะเบียนนิติบุคคล และให้ถือว่าทุกห้องในอาคารเป็นเจ้าของร่วม แต่ยังมีการเข้าใจผิดว่าไม่ต้องจ่าย เพราะห้องยังไม่ได้โอน

ทั้งนี้ ปัญหาคนอยู่คอนโดนี้มีข้อแนะนำต่อเจ้าของโครงการว่า หากยังไม่สามารถโอนได้หมดก็ไม่ควรนำเงินที่เก็บจากห้องที่โอนแล้วมาจ่ายค่าส่วนกลาง โดยเจ้าของโครงการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เพราะจะถูกกว่าการจ่ายค่าส่วนกลางให้แก่ยูนิตที่ยังไม่ได้โอนตามกฎหมายกำหนด นอกจากนี้ จะต้องแจ้งและทำความเข้าใจกับเจ้าของโครงการเกี่ยวกับรายละเอียดของกฎหมายนิติบุคคลอาคารชุด และส่วนใหญ่ก็จะดำเนินการตามที่เราแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการอยู่อาศัยร่วมกันในอนาคต

"โครงการที่ไม่ได้บริหารโดยมืออาชีพที่มีประสบการณ์ก็อาจไม่เข้าใจหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ลูกบ้านที่โอนแล้วเสียเปรียบที่จ่ายเงินแล้วถูกนำมาใช้จนหมด ในขณะห้องที่ยังไม่ได้โอนและไม่ได้จ่ายค่าส่วนกลางก็ได้รับการดูแลจากนิติบุคคลด้วย นักบริหารมืออาชีพและมีประสบการณ์ในการบริหารอาคารจะต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของโครงการและลูกบ้าน เพื่อมิให้เกิดปัญหาเรื่องการเงินขึ้นภายหลัง"

สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่เจ้าของโครงการไม่จ่ายค่าส่วนกลางให้กับห้องที่ยังไม่ได้โอนมีผลทำให้เงินกองกลางไม่เหลือเลย เพราะเป็นการนำเงินจำนวนน้อยมาจ่ายเพื่อรับผิดชอบค่าส่วนกลางทั้งหมด แต่หากเจ้าของโครงการปฏิบัติตามกฎหมายรับผิดชอบจ่ายค่าส่วนกลางพร้อมๆ กับห้องที่โอนแล้ว ก็จะทำให้เงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินส่วนกลางเหลือในบัญชีของนิติบุคคล อย่างไรก็ตาม เมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจะต้องเปิดบัญชีธนาคารสำหรับคอนโดนั้นๆ เพราะมีผู้ประกอบการบางรายนำเงินส่วนกลางมารวมกับเงินของตนเอง การไม่แยกบัญชีจะมีปัญหาเรื่องดอกเบี้ยและลูกบ้านจะเกิดความไม่ไว้วางใจได้

"จากประสบการณ์ในการเข้าไปบริหารอาคารชุดต่างๆ พบว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ลดลงมาก เนื่องจากผู้ประกอบการเข้าใจกฎหมายมากขึ้น แต่ปัจจุบันปัญหามักเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจกฎหมายหรือเข้าใจแต่จงใจฝ่าฝืน หากบริษัทเข้าไปทำหน้าที่บริหารก็จะแนะนำให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นายธนันทร์เอกกล่าว

พร้อมให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ในอดีตผู้อยู่อาศัยในคอนโด ส่วนใหญ่ไม่สนใจทรัพย์สินส่วนกลางเพราะไม่ได้อยู่ในห้องของตัวเอง แต่ปัจจุบันคนเริ่มสนใจมากขึ้นเนื่องจากมีปัญหาจากโครงการอื่นๆ ให้เห็น เช่น หลังจากส่งมอบทรัพย์สินส่วนกลางแล้ว พบว่าระบบต่างๆ ใช้ได้ไม่ดีหรือมีปัญหา หรือเครื่องจักรบางอย่างใช้งานได้ไม่นานก็เสีย จึงต้องนำเงินส่วนกลางมาซ่อม ความจริงแล้วเจ้าของโครงการจะต้องรับผิดชอบ เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างรับประกันคุณภาพ

สำหรับโครงการที่บริษัทเข้าไปบริหาร ส่วนใหญ่ผู้รับเหมาก่อสร้างเสร็จแล้วจะต้องส่งมอบให้แก่ที่ปรึกษาโครงการ หลังจากนั้นจะส่งมอบให้แก่ทีมบริหารเพื่อบำรุงรักษาต่อไป แต่ก็มีโครงการที่ไม่ได้ดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าว หลังจากอยู่อาศัยไปแล้ว 2-3 ปี ก็จะมีปัญหาในระบบต่างๆ เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ ดังนั้น หากโครงการไม่ดำเนินตามกระบวนการดังกล่าว นักบริหารมืออาชีพจะต้องแนะนำให้มีการตรวจสอบ หรือเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบแล้วรายงานให้แก่นิติบุคคล เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาการอยู่อาศัยในอนาคต

"ปัจจุบันโครงการอาคารชุดประมาณ 30-40% ที่ให้มืออาชีพเข้าไปบริหาร ส่วนที่เหลือก็จะบริการกันเอง ซึ่งมีข้อดีคือ กระบวนการจัดการและบริหารจะรวดเร็วไม่มีขั้นตอนมากมาย รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายการจ้างบุคลากร แต่ก็มีข้อเสียมากเช่นกัน โดยเฉพาะความไม่เข้าใจในกระบวนการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายนิติบุคคลอาคารชุด รวมทั้งบุคลากรไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารอาคาร ที่สำคัญการควบคุมดูแลด้านการเงินอาจไม่รัดกุมและทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย แต่บริษัทมืออาชีพจะมีความรับผิดชอบปัญหาและความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการบริหารงาน" นายธนันทร์เอกกล่าว


ที่มา: คมชัดลึก

เทคนิคการจัดห้องนอนในคอนโด


เทคนิคการจัดห้องนอนใน condo


ไม่ว่าคุณจะอยู่บ้าน หรืออยู่คอนโดฯ ห้องที่มีสำคัญเป็นอันหนึ่ง หนีไม่พ้น “ ห้องนอน” นั่นก็เพราะ 1 ใน 3 ของเวลาในแต่ละวันคือ เวลาที่ใช้ไปในห้องนอนน่ะเอง 

ตำแหน่งห้องนอน : ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงบ่ายที่จะทำให้ห้องร้อนในเวลากลางคืน แต่ยังไงห้องนอนก็ยังต้องการแสงแดดบ้างเหมือนกัน รวมทั้งต้องมีการระบายอากาศที่ดี ถ้าเป็นไปได้ควรมีหน้าต่างอย่างน้อย 2 ด้าน ให้ลมเข้า-ออก แต่อย่างมากเกินไป เพราะนอกจากไม่ได้ใช้ประโยชน์จากวิวภายนอกแล้ว(มีตึกบัง) ห้องนอนที่ติดกับอาคารข้างเคียงยังขาดความเป็นส่วนตัว แถมจัดวางเฟอร์นิเจอร์และเตียงลำบากด้วย 


ห้องนอนบางห้องอาจมีระเบียงไว้ออกไปสูดอากาศ เป็นที่จัดสวน หรือตากผ้าห่ม เครื่องนอน ฯลฯ แต่ระเบียงก็ไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมย์เสมอไป ยิ่งหากระเบียงไปติดกับอาคารข้างเคียงหรือติดถนนมากเกินไป ความเป็นส่วนตัวก็จะขาดหาย ยิ่งไปกว่านั้นถ้าไม่หมั่นทำความสะอาด ระเบียงก็จะกลายเป็นพื้นที่เก็บฝุ่นในที่สุด 

พื้นที่ใช้สอยในห้องนอน : ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนนอน อันได้แก่ ชุดเตียงนอน อาจมีทั้งโต๊ะหัวเตียง สตูลปลายเตียง โคมไฟอ่านหนังสือ เป็นต้น ในส่วนนี้ “ เตียงนอน” เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุด ควรวางไว้ส่วนในสุดของห้อง หันหัวเตียงเข้าหาผนังทึบ ไม่ควรวางหัวเตียงตรงกับหน้าต่างหรือช่องเปิด เพราะจะเปิดปิดไม่สะดวก ม่านหน้าต่างห้อยลงมาเกะกะ ทำความสะอาดยาก ควรวางให้สามารถเดินรอบเตียงได้ทั้ง 3 ด้าน


ส่วนแต่งตัว : เป็นบริเวณที่ใช้เก็บเสื้อผ้า และแต่งตัว มักอยู่ส่วนแรกสุดของห้อง(นับจากประตูเข้าห้อง)หรือต่อเนื่องมาจากห้องน้ำ ประกอบไปด้วยตู้เสื้อผ้าและโต๊ะเครื่องแป้ง

เราสามารถเพิ่มเติมบริเวณใช้สอยอื่นๆ ตามกิจกรรมของเจ้าของห้อง เช่น ส่วนทำงาน (อาจดัดแปลงโต๊ะแต่งตัวเป็นโต๊ะทำงาน) ส่วนพักผ่อนที่เพิ่มคอนโซล (ตู้เตี้ยวางของ) สำหรับวางทีวี เครื่องเสียง ถ้ามีพื้นที่มากพออาจมีชุดโซฟา เก้าอี้พักผ่อน หรือเครื่องออกกำลังกาย ก็ได้




ห้องนอน จะแต่งยังไงก็แล้วแต่ใจเจ้าของห้อง แต่ที่ไม่ลืม เพระนั่นคือสิ่งสำคัญที่สุดในการตกแต่งห้องนอน นั่นคือ การทำให้ร่างกายนอนหลับได้สนิท อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ในห้องที่เงียบสงบ อุณหภูมิพอเหมาะ และอากาศถ่ายเทได้ดี