This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

ลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์




 ลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์


    เป็นสัญญาซึ่งตกลงกันระหว่าง "ผู้ให้เช่า" และ "ผู้เช่า" ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ในชั่วระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนประโยชน์นั้นๆ ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะว่าคู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน หมายถึง ผู้เช่ามีสิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใดๆ จากทรัพย์สินที่เช่าแต่ผู้เช่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าแต่อย่างใด และผู้เช่าต้องให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ (โดยปกติจะเป็นเงินแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราเสมอไปเพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใดอาจเป็นอาหาร ยา ฯลฯ) เช่น กรณีเช่าบ้าน ผู้เช่ามีสิทธิเพียงครอบครองอยู่อาศัยในบ้านเช่านั้น แม้จะอยู่มานานเท่าใดผู้เช่าก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ แต่ผู้เช่าให้เงินเป็นจำนวน 5,000 บาท/เดือนตอบแทนของการเช่าบ้าน



 หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์


    การที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีเจตนาตกลงกันก็ถือว่าเกิดสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว แต่สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้นจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีในศาลไม่ได้ ตัวอย่างของหลักฐานเป็นหนังสือในกรณีสัญญาเช่า เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่า เป็นต้น

    สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นี้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การเช่าแบบระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ต้องทำป็นหนังสือสัญญาเช่าโดยมีการลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ส่วนอีกประเภทคือระยะเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีไม่ว่าจะเช่าตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่านั้น กฎหมายได้กำหนดลักษณะของ ?หลักฐานเป็นหนังสือ? ไว้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าแบบประเภทไม่เกิน 3 ปี เพราะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ 

    มีสัญญาพิเศษฉบับหนึ่งภาษาทางกฎหมายเขาเรียกว่า ?สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ? ซึ่งเขียนให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สัญญาที่มีข้อตกลงพิเศษเพิ่มเติมระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่านอกเหนือไปจากค่าเช่าที่ต้องจ่าย เช่น สัญญาที่ผู้เช่าต้องซ่อมแซมต่อเติมเมื่อบ้านชำรุด ผู้เช่าต้องปลูกและดูแลต้นไม้ในที่ดินนั้นๆ 




 หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้เช่า


    ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตามสัญญา โดยทรัพย์สินนั้นๆต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าด้วยตลอดระยะเวลาการเช่า เช่น เจ้าของบ้านเช่าต้องดูแล บำรุง รักษา และซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้เช่า ยกเว้นการซ่อมที่มีกฎหมายหรือประเพณีกำหนดให้ผู้เช่าเป็นผู้ซ่อมเองได้แก่ การซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ อย่างมุ้งลวดประตู หน้าต่างฉีกขาด กระเบื้องปูพื้นแตก 2-3 แผ่น



 หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เช่า


    ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าให้แก่เจ้าของที่อยู่นั้นๆ เพราะถือว่าเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนจากประโยชน์ที่ได้รับจากการเช่า ซึ่งจะมีการตกลงเวลาการชำระหนี้ไว้ในแต่ละคราว โดยปกติมักจ่ายเป็นรายเดือน นอกจากนี้ผู้เช่าต้องรักษาสภาพของที่อยู่ให้เรียบร้อยตามสภาพที่ได้รับมอบมาและต้องส่งคืนในสภาพเดิม หรือซ่อมแซมให้เรียบร้อยหากชำรุด



 การระงับสัญญาเช่า


    การระงับสัญญานี้อาจมีสาเหตุมาจากผลทางกฎหมาย เช่นเมื่อหมดสัญญาเช่า ผู้เช่าถึงแก่ชีวิต หรือทรัพย์สินนั้นสูญหายไปเช่นไฟไหม้ กฎหมายได้อนุญาตผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าสามารถระงับการเช่าได้โดยมิต้องบอกกล่าว

    อีกกรณีของการระงับสัญญาเช่าอาจเนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาเช่าระบุให้สิทธิบอกเลิก หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าในข้อสำคัญ เช่นไม่ชำระค่าเช่า หรือถ้าสัญญาเช่าเป็นแบบไม่กำหนดระยะเวลาการเช่าแต่ละฝ่ายสามารถบอกเลิกสัญญาได้ แต่ต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวก่อนสักระยะหนึ่งแต่ไม่จำเป็นต้องบอกก่อนล่วงหน้าเกินกว่าสองเดือน 




 เกร็ดความรู้ก่อนเช่าทรัพย์สิน


Q: ผู้เช่าต่อเติมหรือดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า โดยผู้ให้เช่าไม่อนุญาตแล้วผลจะเป็นอย่างไร
A: ในกรณีผู้เช่าต่อเติมหรือดัดแปลงทรัพย์สินโดยพลการ ไม่ได้รับความยินยอมก่อนจากผู้ให้เช่านั้น กฏหมายได้ปกป้องผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกร้องกับผู้เช่าต้องทำให้ทรัพย์สินกลับสู่สภาพเดิม และต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากผู้ให้เช่ารับรู้เรื่องการต่อเติมดัดแปลงแต่ไม่ได้ทักท้วงตั้งแต่แรก แล้วต่อไปเกิดผิดใจกันระหว่างสองฝ่ายจนถึงขึ้นฟ้องร้องขับไล่โดยอ้างการต่อเติม ผลคือผู้ให้ไม่สามารถขับไล่ได้และเลิกสัญญาได้ ถือว่าผู้ให้เช่าอนุญาตให้ดัดแปลงโดยปริยาย

Q: ผู้เช่าจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่ไปซ่อมแซมต่อเติมทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าได้หรือไม่ 
A: ดูที่เจตนา หากการต่อเติมซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ในกิจการของผู้เช่าเอง เช่น ต่อเติมเพื่อความสะดวกสบาย ทำให้สวยงามขึ้น แต่ไม่ใช่ทำเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่าก็ไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายนี้ได้ แต่ถ้าผู้เช่าซ่อมแซมในส่วนที่จำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติเล็กๆน้อยๆ ถึงแม้ผู้ให้เช่าจะอ้างว่าไม่ได้ตกลงให้ทำ แต่ก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นส่วนนี้ 

Q: ไม่ใช่เจ้าของแล้วเอาทรัพย์สินไปให้เช่า ผู้เช่าจะปฏิเสธไม่จ่ายค่าเช่าได้หรือไม่ 
A: ไม่ได้ เพราะผู้เช่าได้รับประโยชน์จากการเช่าแล้วจะอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของแล้วไม่ชำระค่าเช่าไม่ได้ เป็นหน้าที่ที่ผู้เช่าต้องจ่าย 






 สิทธิของผู้ให้เช่าที่ควรรู้


Q: เช่าที่ดินเปล่าแล้ว ปลูกสิ่งปลูกสร้างใหม่ เมื่อสัญญาเช่าระงับสิ่งปลูกสร้างนั้นจะทำอย่างไร
A: เมื่อเลิก ระงับ หรือหมดระยะเวลาสัญญาผู้เช่าต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออก คือต้องคืนทรัพย์สินในสภาพเดิม ผู้เช่าจะบังคับผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สินหรือเรียกร้องค่ารื้อถอนเพิ่มเติมไม่ได้

Q: ผู้เช่านำทรัพย์สินไปปล่อยให้เช่าช่วงอีกทอดหนึ่ง โดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอม จะยกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ 
A: การเช่าช่วงหมายถึงการนำทรัพย์สินที่เช่ามาไปให้ผู้อื่นเช่าต่อ กรณีนี้ถ้าผู้ให้เช่า (เจ้าของกรรมสิทธิ์) ไม่อนุญาตให้เช่าช่วงต่ออีกที ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีและไม่จำเป็นต้องกำหนดให้เวลาย้ายแก่ผู้เช่า 

Q: ถ้าผู้เช่าใช้ทรัพย์สินผิดวัตถุประสงค์การเช่าที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าจะทำอย่างไร
A: ผู้ให้เช่าสามารถตักเตือนบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้แต่แรกที่ระบบุในสัญญา แต่ถ้าเตือนแล้วยังไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่าก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เช่น ในตอนแรกตกลงเช่าบ้านสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ต่อไปภายหลังดัดแปลงไปเปิดร้านขายอาหาร ผู้ให้เช่าเกิดไม่พอใจไม่ต้องการให้ขายอาหารเพราะจะทำให้บ้านสกปรกเลอะเทอะจึงได้ทำการเตือน แต่ผู้เช่าไม่สนใจละเลยการเตือนนั้น ยังคงเปิดบ้านขายอาหารต่อไป ผู้ให้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าวได้ และผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องชดเชยค่าเสียหายเนื่องจากการขาดรายได้ด้วย 

Q: ผู้เช่าไม่ดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าไป ทำให้ทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือเสียหายผลจะเป็นอย่างไร
A: หากผู้ให้เช่าสามารถสืบทราบได้ว่าผู้เช่าไม่ได้ใช้ทรัพย์สินอย่างระมัดระวังอย่างวิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง ผู้เช่าต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น หากไม่ปฏิบัติตามผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้ 

Q: ตกลงจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว แต่ผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเลยได้หรือไม่ 
A: ไม่ได้ ผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ชำระค่าเช่าก่อนอย่างน้อย 15 วัน อยู่ๆจะให้ทนายส่งหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าเลยจะไม่มีผลบังคับ 

แต่ถ้าในสัญญาได้กำหนดตกลงกันว่า "หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ในผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้" ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า 

Q: ถ้าสัญญาเก่าครบอายุแล้ว คู่สัญญาจำเป็นต้องทำสัญญากันใหม่หรือไม่ 
A: ทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องทำใหม่ แต่จะถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมเป็นหลักแต่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องเวลา อาทิเช่น เดิมตกลงเช่าบ้านราคา 10,000 บาทเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากครบกำหนดแล้วหากไม่ทำสัญญาฉบับใหม่ ผู้เช่าสามารถเช่าอยู่ต่อได้เรื่อยๆที่ราคาเดิม หากเจ้าของบ้านต้องการขึ้นค่าเช่าต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานลงลายมือชื่อรับทราบจากผู้เช่าเพื่อตกลงราคาใหม่ 

Q: ถ้าสัญญาหมดอายุแล้ว (ไม่มีกำหนดเวลาเช่า) จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้เมื่อใด 
A: ถ้าในสัญญาไม่กำหนดเวลาเช่าที่แน่นอน ทั้งสองฝ่ายสามารถบอกเลิกสัญญาเช่ากันได้ แต่ต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนระยะหนึ่งที่เหมาะสม (ไม่ได้กำหนดว่าต้องบอกล่วงหน้า 2 เดือน)